ลูกแค่เศร้าหรือเสี่ยงเเป็นโรคซึมเศร้า เรามีคำตอบ

ลูกแค่เศร้าหรือเสี่ยงเเป็นโรคซึมเศร้า เรามีคำตอบ

เมื่อพูดถึงโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตที่มาแรงตอนนี้ น่าจะหนีไม่พ้น “โรคซึมเศร้า” ซึ่งมีในสื่อมากขึ้น หลายคนให้ความสนใจมากขึ้น

อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่จริงๆแล้วเเด็กมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงและแบบเรื้อรังได้เท่าๆกับผู้ใหญ่ รวมทั้งเป็นสาเหตุการฆ่าตัวตายได้เช่นเดียวกัน วันนี้เราจะมาดูกันค่ะว่าอาการที่เราเห็นว่าลุกเศร้านั้น เป็ฯแค่ความรู้สึกเศร้า หรือเสี่ยงกับการเป็นโรคซึมเศร้ากันแน่

โรคซึมเศร้า มากกว่าเศร้าซึม ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักโรคซึมเศร้าที่เป็น “โรค” ให้เข้าใจกันก่อนดีกว่าค่ะ “โรคซึมเศร้า” คือ ภาวะทางอารมณ์ที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเศร้า หงุดหงิดง่าย สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะคงอยู่ยาวนานมากกว่าปกติ จึงอาจส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนเอง รวมทั้งอาจนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และปัญหาสุขภาพได้ โดยโรคซึมเศร้าในเด็กนั้น บางส่วนเกิดจากการโดนกลั่นแกล้ง ซึ่งอาจจะเกิดที่ดรงเรียน หรือบนโลกไซเบอร์ก็ได้

มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ระบุว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคซึมเศร้ากับการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ 0-7 ขวบ เพราะเด็กเล็กมีความซับซ้อนในการรับรู้และทางอารมณ์สูงมากกว่าที่เราคิด ผู้ใหญ่ชอบคิดว่าเด็กเล็กคิดอะไรไม่เป็น แต่ในความเป็นจริง เด็กเล็กมีความไวต่อสภาวะอารมณ์ของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูสูงมาก เด็กที่ได้รับพลังงานลบจากผู้ใหญ่บ่อยๆ ก็มีแนวโน้มจะเป็นซึมเศร้าได้เมื่อโตขึ้น

เด็ก

ลูกแค่เศร้า หรือซึมเศร้ากันแน่ เบื้องต้นเราอยากให้คุณพ่อคุณแม่คอยสังเกตุพฤติกรรมของลูกว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง มีพฤติกรรมเหล่านี้ ซึ่งอาจจะเข้าข่ายการเป็นโรคซึมเศร้าได้

  • มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เริ่มเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ก็ทำให้พ่อแม่กังวลใจไม่น้อย
  • มีอารมณ์ที่ซึมเศร้าลง เบื่อหน่ายมากขึ้น หรือบางรายอาจมีอารมณ์หงุดหงิด
  • ไม่มีความสุขความเพลิดเพลินเมื่อทำกิจกรรมที่ชอบ
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดลง หรือในขณะที่บางรายก็ทานอาหารมากเกินไป
  • นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าปกติ ในขณะที่บางรายนอนทั้งวัน
  • เฉื่อยชา
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน ความจำแย่ลง
  • รู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกไร้ค่า
  • อยากฆ่าตัวตาย

เหล่านี้เป็นอาการที่รวบรวมมาเพื่อให้พ่อแม่ได้สังเกตลูกๆ เท่านั้น ถ้าถามว่าหงุดหงิด หรือซึมแค่ไหนถึงจะน่ากังวล เรามีข้อคิดง่ายๆ นั่นคือหากอาการหรือพฤติกรรมนั้นมีความต่อเนื่อง และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในชีวิตประจำวัน นั่นเริ่มเป็นสัญญาณที่ไม่ดีแล้วล่ะค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บางอาการอาจจะเกิดจากโรคทางกายอื่นๆได้อีก หรือบางครั้งก็เกิดจากภาวะอารมณ์ของลูก ความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น เปิดเทอม เปลี่ยนโรงเรียนใหม่ ย้ายบ้าน ฯลฯ

แนะนำข่าวเด็กเพิ่มเติม : พบด.ญ.5 ขวบหนีออกจากบ้าน ยืนโบกรถตอนตี 2 บอกโดนแม่ทำร้าย